เมนู

เป็นโทษมากกว่า บุคคลตั้งวาจาและใจอันเป็นบาป
แล้วติเตียนพระอริยะ ย่อมเข้าถึงนรกสิ้นหนึ่งแสน
นิรัพพุทกัป 36 นิรัพพุทะ และ 5 อัพพุทะ.

จบโกกาลิกสูตรที่ 9

อรรถกถาโกกาลิกสูตรที่ 9


โกกาลิกสูตรที่ 9

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โกกาลิโก ภิกฺขุ เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า ภิกษุ
โกกาลิกะนี้คือใคร และเหตุไรจึงเข้าไปเฝ้า เล่ากันว่า โกกาลิกภิกษุนี้
เป็นบุตรของโกกาลิกเศรษฐีในนครโกกาลิกะ รัฐโกกาลิกะ บวชแล้วอยู่
ประจำในวิหารที่บิดาสร้างไว้ แต่ภิกษุผู้เป็นศิษย์ของพระเทวทัต ชื่อว่า
จูฬโกกาลิกะ. ก็โกกาลิกะบุตรพราหมณ์นั้นชื่อว่า มหาโกกาลิกะ. ก็เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงสาวัตถี พระอัครสาวกทั้งสอง ก็จาริก
ไปในชนบทพร้อมกับภิกษุประมาณ 500 รูป เมื่อวันใกล้เข้าพรรษา
ประสงค์จะอยู่อย่างวิเวก จึงส่งภิกษุเหล่านั้นกลับไป ตนเองถือบาตรและ
จีวรถึงนครนั้น ในชนบทนั้น ครั้นถึงวิหารนั้น ก็ไปวิหารนั้น ในวิหารนั้น
พระโกกาลิกะก็ทำวัตรปฏิบัติแก่พระอัครสาวกทั้งสองนั้น ท่านพระอัคร-
สาวกก็สัมโมทนากับพระโกกาลิกะนั้นรับคำว่า ผู้มีอายุ เราจะอยู่ที่นี้ 3 เดือน
ท่านอย่าบอกเรื่องของเราแก่ใคร ๆ แล้วก็อยู่จำพรรษา ครั้นจำพรรษาแล้ว
ก็ปวารณา ในวันปวารณาก็บอกลาโกกาลิกภิกษุว่า ผู้มีอายุ เราจะไปละ
โกกาลิกภิกษุกล่าวว่า ผู้มีอายุ วันนี้อยู่เสียอีกวันหนึ่ง พรุ่งนี้ค่อยไป. วัน
รุ่งขึ้นก็เข้าพระนครบอกผู้คนทั้งหลายว่า ผู้มีอายุ ท่านไม่รู้กันดอกหรือว่า

ท่านพระอัครสาวกทั้งสองมาอยู่ในที่นี้ ใคร ๆ จะไม่นิมนต์ท่านด้วยปัจจัย
บ้างหรือ. ชาวพระนครจึงกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า พระเถระอยู่ไหนเล่า เหตุไร
ท่านจึงไม่บอกพวกเรา. โกกาลิกภิกษุกล่าวว่า ผู้มีอายุ จะต้องบอกทำไม
พวกท่านไม่เห็นพระเถระ 2 รูปนั่งอยู่เหนือเถระอาสน์ดอกหรือ นั้นแหละ
พระอัครสาวก. ชาวพระนครเหล่านั้น รีบเร่งประชุมรวบรวมเนยใสน้ำผึ้ง
เป็นต้น และผ้าทำจีวรทั้งหลาย โกกาลิกภิกษุคิดว่า ท่านพระอัครสาวก
มีความมักน้อยอย่างยิ่ง จักไม่ยินดีลาภที่เกิดขึ้นด้วยปยุตตวาจา (วาจาพูด
เลียบเคียงหาลาภ). เมื่อท่านไม่ยินดี ก็จะบอกให้ให้แก่ภิกษุประจำวัด
แล้วจึงให้เขาถือลาภนั้นไปยังสำนักพระเถระ. พระเถระเห็นแล้วก็ปฏิเสธ
ว่า ปัจจัยไม่สมควรแก่เรา ทั้งไม่สมควรแก่โกกาลิกภิกษุ ดังนี้แล้วก็กลับ
ไป. โกกาลิกภิกษุเกิดอาฆาตว่า อะไรเล่า ท่านพระอัครสาวกเมื่อตนเอง
ไม่รับก็ไม่ให้แก่เรา แล้วหลีกไปเสีย. พระอัครสาวกทั้งสองแม้นั้นมาเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ก็พาบริษัทของคนจาริกไปในชนบท
อีก กลับมายังนครนั้น ในรัฐนั้นนั่นแหละตามลำดับ พวกชาวเมืองจำ
พระเถระได้ ก็จัดแจงทานพร้อมบริขารสร้างมณฑปกลางพระนครถวาย
ทาน แล้วน้อมบริขารถวายพระเถระ. พระเถระก็มอบแก่ภิกษุสงฆ์. พระ
โกกาลิกะเห็นดังนั้นคิดว่า พระอัครสาวกนี้แต่ก่อนเป็นผู้มักน้อย บัดนี้
กลายเป็นผู้มีความปรารถนาเลว ชะรอยเมื่อก่อนจะทำทีว่ามักน้อย สันโดษ
และสงัด จึงเข้าไปหาพระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ พวกท่านแต่ก่อนทำ
เหมือนว่ามักน้อย แต่บัดนี้กลายเป็นภิกษุชั่วไปเสียแล้ว คิดว่าจำเราจัก
ทำลายที่พึ่งของพระเถระเหล่านั้น ที่ต้นตอ จึงรีบออกไปเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า. ภิกษุโกกาลิกะนี้นี่แหละพึงทราบว่า เข้าไปเฝ้าด้วยเหตุนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เห็นโกกาลิกภิกษุนั้นรีบร้อนมา ทรงพิจารณา
อยู่ทราบว่า ภิกษุนี้มาเพื่อประสงค์จะด่าพระอัครสาวก เราจะห้ามได้ไหม
หนอ ทรงเห็นว่า ห้ามไม่ได้ เธอทำผิดในพระเถระทั้งสองมาแล้ว จัก
บังเกิดในปทุมนรกโดยส่วนเดียว ทรงห้ามถึง 3 ครั้งว่า อย่าพูดอย่างนี้
เลย เพื่อทรงเปลื้องวาทะที่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า โกกาลิก-
ภิกษุติเตียนพระสารีบุตรและโมคคัลลานะแล้วก็ยังไม่ทรงห้าม และเพื่อจะ
ทรงแสดงว่า อริยุปวาทมีโทษมาก. บทว่า มาเหวํ ในคำนั้นแปลว่า อย่า
พูดอย่างนี้เลย
บทว่า สทฺธายิโก ได้แก่ เรียกความเชื่อถือ นำมาซึ่งความเลื่อมใส
หรือมีวาจาที่ควรเชื่อได้. บทว่า ปจฺจยิโก ได้แก่มีวาจาที่น่านับถือ. บท
ว่า ปกฺกามิ ได้แก่ถูกอานุภาพของกรรมเดือนก็หลีกไป จริงอยู่ กรรม
ที่ถึงโอกาสแล้ว อะไร ๆ ก็ห้ามไม่ได้. บทว่า อจิรปกฺกนฺตสฺส ได้แก่
หลีกไปไม่นาน.
บทว่า สพฺโพ กาโย ผุฏฺโฐ อโหสิ ความว่า ทั่วตัวไม่เว้นโอกาส
เพียงปลายผม ก็ได้ถูกย่อมทั้งหลายชำแรกกระดูกผุดขึ้นเต็มไป. ก็เพราะ
เหตุที่กรรมเห็นปานนั้น ไม่อาจให้วิบากเฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายด้วยพุทธานุภาพ ก็ย่อมให้ผลเมื่อพอพ้นอุปจารที่เฝ้า ฉะนั้น
ต่อมทั้งหลายจึงผุดขึ้น เมื่อโกกาลิกภิกษุนั้นหลีกไปไม่นาน. บทว่า
กาฬายกมตฺติโย แปลว่า ถั่วดำ. บทว่า เวลุวสราฏุกมตฺติโย แปลว่า
เท่าผลมะตูมอ่อน. บทว่า ปภิชฺชึสุ แปลว่า แตกแล้ว. เมื่อต่อมเหล่า
นั้นแตกแล้ว ทั่วตัวก็ได้เป็นเหมือนขนุนสุก. โกกาลิภิกษุนั้น มีตัวอัน
สุกแล้ว นอนบนใบตองใกล้ซุ้มประตูพระเชตวันเหมือนปลากลืนยาพิษ.

ครั้งนั้นผู้คนทั้งหลายที่มาฟังธรรมก็พากันพูดว่า ชิ โกกาลิกะ ชิ โกกาลิกะ
ทำไม่ถูกเลย อาศัยปากของตนอย่างเดียวก็ถึงความย่อยยับ อารักขเทพยดา
ทั้งหลายฟังเสียงของผู้คนเหล่านั้น ก็ได้กระทำเสียงตำหนิเหมือนกัน
อากาสเทวดาฟังอารักขเทวดา ก็ตำหนิดังนั้นเหมือนกัน เหตุนั้นจึงเกิด
เสียงตำหนิเป็นอันเดียวกันโดยอุบายอย่างนี้ จนถึงอกนิฏฐภพ.
บทว่า ตุทิ ได้แก่ อุปัชฌาย์ของพระโกกาลิกะ ชื่อ ตุทิเถระ บรรลุ
อนาคามิผล บังเกิดในพรหมโลก ท่านได้ยินเสียงตำหนิตั้งแต่ภุมมัฎฐก-
เทวดาต่อ ๆ กัน ไปจนถึงพรหมโลกว่า โกกาลิกะ กล่าวตู่พระอัครสาวก
ด้วยอันติมวัตถุ กระทำกรรมไม่ถูก คิดว่า น่าสงสารเมื่อเราเห็นเขาอยู่
ก็อย่าพินาศไปเสียเลย จำเราจักสั่งสอนเขา เพื่อให้จิตเลื่อมใสในพระ-
อัครสาวกทั้งสองดังนี้ แล้วจึงมายืนอยู่ตรงหน้าโกกาลิกะภิกษุนั้น. ท่าน
หมายเอาตุทิพรหมผู้นั้น จึงกล่าวคำนี้ว่า "ตุทิปจฺเจกพฺรหฺมา."
บทว่า เปสลา หมายความว่า มีศีลเป็นที่รัก. พระโกกาลิกะนอนลืม
ตาพร่าพรายกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุท่านเป็นใคร. บทว่า ปสฺส ยาวญฺจ
เต
ความว่า พระโกกาลิกะกล่าวว่า จงดู ท่านทำผิดไว้มีประมาณเท่าใด
เมือไม่เห็นฝีหัวใหญ่ที่หน้าผากของตน สำคัญว่า พึงตักเตือนเราด้วยต่อม
ขนาดเมล็ดพันธุ์ผักกาด.
ครั้งนั้น ตุทิพรหมรู้ว่าโกกาลิกะนี้ไม่พอใจ จักไม่เชื่อใคร ๆ
เหมือนปลาที่กลืนยาพิษ จึงกล่าวกะโกกาลิกะนั้นว่า ปุริสสฺส หิ เป็นต้น
บทว่า กุฐารี ในคาถานั้น ได้แก่ วาจาหยาบเสมือนขวาน. บทว่า ฉินฺทติ
ได้แก่ ย่อมตัดที่รากทีเดียว กล่าวคือกุศลมูล. บทว่า นินฺทิยํ ได้แก่ บุคคล
ทุศีลที่พึงติเตียน. บทว่า ปสํสติ ได้แก่ ชมเชย โยชน์สูงสุด จึงกล่าวว่า

"พระขีณาสพ." บทว่า ตํ วา นินฺทติ โย ปสํสิโย ความว่า ก็หรือว่า
ผู้ใดอันเขาพึงสรรเสริญเป็นพระขีณาสพ โกกาลิกะนี้ก็ยังโจทผู้นั้น กล่าว
ว่า ภิกษุนี้ทุศีล.
บทว่า วิจินาติ มุเขน โส กลึ ความว่า ผู้นั้นชื่อว่าพบโทษนั้น
ด้วยปาก. บทว่า กลินา เตน ความว่า ย่อมไม่พบความสุขเพราะโทษ
นั้น. จริงอยู่ การสรรเสริญผู้ที่ควรติเตียน และการติเตียนผู้ที่ควรสรร-
เสริญ มีวิบากเสมอกัน. บทว่า สพฺพสฺสาปิ สหาปิ อตฺตนา ความว่า
ชื่อว่าการพ่ายแพ้ทางทรัพย์ในการพนันทั้งหลายอันใด โดยทรัพย์ของตน
ทั้งหมด พร้อมแม้ทั้งตน ความพ่ายทรัพย์อันนี้ เป็นโทษเล็กน้อย. บทว่า
โย สุคเตสุ ความว่า ผู้ใดคิดร้ายในบุคคลผู้ปฏิบัติชอบ ความคิดร้าย
ของบุคคลนั้น นี้มีโทษมากกว่าโทษนั้น.
บัดนี้ ตุทิพรหมเมื่อจะแสดงว่า ความคิดร้ายนั้นมีโทษมากกว่า
จึงกล่าวคำว่า สตํ สหสฺสานํ เป็นต้น . บทว่า สตํ สหสฺสานํ ได้แก่
แสนหนึ่งด้วยการนับนิรัพพุทะ. บทว่า ฉตฺตึสติ ได้แก่ อีก 36 นิรัพ-
พุทะ. บทว่า ปญฺจ จ ได้แก่ 5 อัพพุทะด้วยการนับอัพพุทะ. บทว่า
ยนริยครหี ความว่า ผู้ติเตียนพระอริยะ ย่อมเข้าถึงนรกอันใดนั้นเป็น
อายุประมาณในนรกนั้น . บทว่า กาลมกาสิ ความว่า กระทำกาละเมื่อ
อุปัชฌาย์หลีกไป.
บทว่า ปทุมนิรยํ ความว่า ชื่อว่าปทุมนรกที่แยกออกต่างหาก
ย่อมไม่มี แต่บังเกิดในที่แห่งหนึ่งในอเวจีมหานรกนั่นแหละ.
ก็คำว่า อัพพุทะนี้เป็นชื่อของสถานที่ ที่สัตว์จะพึงไหม้ ด้วยการนับ

อัพพุทะในอเวจีนรกนั้นเอง. แม้ในนรกชื่อว่านิรัพพุทะเป็นต้นต้นก็นัยนี้
อนึ่ง ในนรกเหล่านี้ พึงทราบแม้การนับปีอย่างนั้น.
เหมือนอย่างร้อยแสนเป็นโกฏิหนึ่ง ฉันใด ร้อยแสนโกฏิ ชื่อว่า
ปโกฏิหนึ่งก็ฉันนั้น ร้อยแสนปโกฏิ ชื่อว่าโกฏิปโกฏิหนึ่ง. ร้อยแสน
โกฏิปโกฏิ ชื่อว่านหุตหนึ่ง. ร้อยแสนนหุต เป็นนินนหุตหนึ่ง ร้อย
แสนนินนหุต เป็นอัพพุทะหนึ่ง. แต่อัพพุทะนั้นไป เอา 20 คูณ เป็น
นิรัพพุทะ. ในบททุกบทก็นัยนี้แล.
จบอรรถกถาโกกาลิกสูตรที่ 9

11. พลสูตร


ว่าด้วยกำลังของพระขีณาสพ 10 ประการ


[90] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้-
มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร กำลังของ
ภิกษุขีณาสพมีเท่าไรหนอ ที่ภิกษุขีณาสพประกอบแล้ว ย่อมปฏิญาณ
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว .
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กำลังของภิกษุ
ขีณาสพ 10 ประการ ที่ภิกษุขีณาสพประกอบแล้ว ปฏิญาณความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว กำลัง 10 ประการเป็นไฉน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พิจารณาเห็น
สังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความ
เป็นจริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้พิจารณาเห็น